จากสถานการโควิดตอนนี้หลายๆคนต่างลำบากกันมาก
สำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งตอนนี้ เหมาะมากกับการ
เยียวยาเด็กในช่วงก่อนเปิดเทอมนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ได้เห็นชอบให้เพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ของcv-19
ได้ส่งผลให้ครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษมีรายได้ลดลงและเกิดการว่างงาน
ประกอบกับผลวิเคราะห์จากโครงการวิจัยพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ
จากสถานการณ์ข้างต้น กสศ. จึงมีข้อเสนอว่า อัตราเงินทุนเสมอภาคในปัจจุบัน
ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ
ดังนั้นจึงเห็นควรให้เพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษาระหว่างนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้แตกต่างกัน และป้องกันความเสี่ยงในการหลุ
ดออกจากระบบการศึกษาของประชากรกลุ่มนี้ในระยะยาว
1อัตราเงินอุดหนุนใหม่
ระดับอนุบาล
อัตราเดิม 4,000 บาท
2อัตราใหม่ (ยังคงจ่ายเท่าเดิม)ระดับประถมศึกษา
อัตราเดิม 3,000 บาท
อัตราใหม่ 5,100 บาท

- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
อัตราเดิม 3,000 บาท
อัตราใหม่ 4,500 บาท - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
อัตราเดิม 3,000 บาท
อัตราใหม่ 9,100 บาท - อาชีวศึกษา
อัตราเดิม 3,000 บาท
อัตราใหม่ 9,100 บาท
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ซึ่งตามนิยามของเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ จะหมายถึ นักเรียนยากจนที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อมแบบ PMT
หรือ Proxy Means Test จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอยู่ในกลุ่มค่าคะแนนความยากจนอยู่ในเกณฑ์ยากจนพิเศษ
หรือ ครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ย 1,200 บาทต่อคนต่อเดือน
ขอบคุณที่มา : prachachat